ตะกร้า 0

ครบเครื่องเรื่องน่ารู้เกี่ยวกับ 'ลวดเชื่อม'

ครบเครื่องเรื่องน่ารู้เกี่ยวกับ 'ลวดเชื่อม'

23 พฤษภาคม 2024

ครบเครื่องเรื่องน่ารู้เกี่ยวกับ 'ลวดเชื่อม'

ลวดเชื่อม คือวัสดุชิ้นสำคัญในงานเชื่อมทุกรูปแบบ โดยเฉพาะการเชื่อมโลหะในงานโครงสร้างเหล็กทั่วไป เช่น การเชื่อมโครงสร้างรถยนต์ และยานพาหนะ เครื่องจักรอุตสาหกรรม งานก่อสร้างเรือ รถไฟ สะพาน และอาคารก่อสร้างต่าง ๆ เนื่องจากลวดเชื่อมนั้นจะทำงานร่วมกับเครื่องเชื่อมในการเชื่อมรอยต่อของชิ้นงาน ทำให้ชิ้นงานยึดติดเข้าด้วยกันได้อย่างแน่นหนาและแข็งแรง อาศัยความร้อนจากเครื่องเชื่อมบริเวณที่ต้องการเชื่อมในการหลอมละลายลวดเชื่อมเข้ากับพื้นผิวชิ้นงาน ปัจจุบันลวดเชื่อมนั้นมีการผลิตขึ้นมาหลายประเภทตามกระบวนการเชื่อมและประเภทของเครื่องเชื่อม เพื่อให้มีความเหมาะสมต่อการใช้งานมากยิ่งขึ้น

ลวดเชื่อม

ประเภทของลวดเชื่อม และความเหมาะสมในการใช้งาน

  1. ลวดเชื่อมไฟฟ้าหุ้มฟลักซ์หรือลวดเชื่อมก้านธูป

ลวดเชื่อมที่มีลักษณะเป็นแท่งคล้ายธูปและภายในเป็นลวดโลหะ ด้านนอกจะมีสารเคลือบฟลักซ์อยู่ เช่น ลวดเชื่อมเหล็กและลวดเชื่อมสแตนเลสที่พบได้บ่อยในหมู่ช่างเชื่อม เพราะมีราคาไม่แพง โดยลวดเชื่อมประเภทนี้เหมาะสำหรับใช้ในงานเชื่อมที่ต้องการความทนทานแรงดึงสูง เหมาะสำหรับงานต่อเรือ ต่อยานพาหนะ งานก่อสร้างโครงสร้างที่ต้องการความมั่นคง อาคาร สะพาน งานอุตสาหกรรมปิโตรเคมี เป็นต้น

  1. ลวดเชื่อม Oxy-Fuel

ลวดเชื่อมประเภทที่จำเป็นต้องใช้ออกซิเจนและแก๊สอะเซทิลีนหรือแก๊ส LPG เชื้อเพลิงในการทำงาน มาพร้อมกับคุณสมบัติอัตราการหลอมละลายที่ดี เหมาะสำหรับงานเชื่อมเบา ๆ โลหะบาง ๆ เช่น งานเชื่อมซ่อมตัวถังรถยนต์ งานเชื่อมท่อแอร์ ท่อไอเสียรถยนต์ หรืองานเชื่อมในอุตสาหกรรมเคมีต่าง ๆ เป็นต้น

  1. ลวดเชื่อมมิก

ลวดเชื่อมมิกหรือลวดเชื่อม CO2 เป็นลวดเชื่อมที่ได้รับการออกแบบมาให้ใช้งานร่วมกับเครื่องเชื่อมมิกและแมกโดยเฉพาะ เพราะมีการเคลือบทองแดง เป็นลวดโลหะเปลือยไม่มีสารพอกหุ้มภายนอก จึงจำเป็นต้องใช้แก๊ส CO2 (คาร์บอนไดออกไซด์) ในการเชื่อมเท่านั้น จำหน่ายมาในลักษณะเป็นม้วนลวด ไม่ใช่เป็นแท่งเส้นเหมือนลวดเชื่อมประเภทอื่น ๆ ราคาไม่แพง เหมาะสำหรับใช้เชื่อมวัสดุเหล็กเหนียว เหล็กกล้าผสมต่ำ ในอุตสาหกรรมก่อสร้างและงานประกอบเหล็กทั่วไป อาทิ งานอุตสาหกรรมรถยนต์ เป็นต้น แต่ปัจจุบันสามารถใช้ได้กับวัสดุหลายชนิด เช่น สแตนเลส อลูมิเนียม โดยใช้กับแก๊สอาร์กอน เป็นต้น

  1. ลวดเชื่อมแก๊สอาร์กอน (ทิก)

ลวดเชื่อมที่มีลักษณะคล้ายลวดเชื่อมประเภทมิก เป็นลวดเชื่อมเปลือยเส้น ๆ มีความยาวประมาณ 1 เมตร แต่ไม่ได้มาเป็นม้วนเหมือนลวดเชื่อมมิก โดยลวดเชื่อมแก๊สอาร์กอนนั้นนิยมใช้งานร่วมกับเครื่องประเภททิก นิยมใช้ในงานเชื่อมที่ต้องการความละเอียดสูง ต้องการความสวยงามในแนวเชื่อม สามารถเชื่อมได้ทั้งวัสดุโลหะ เหล็ก อะลูมิเนียม สแตนเลส ทองเหลือง และอื่น ๆ อีกมากมาย

  1. ลวดเชื่อมเหล็กเหนียวซับเมอร์จ

ลวดเชื่อมชนิดพิเศษต้องใช้คู่กับผงเชื่อมซับเมอร์จ เป็นการเชื่อมแบบใต้ฟลั๊กซ์ โดยมีลักษณะเป็นลวดเชื่อมเปลือย (ตัน) โดยลวดเชื่อมเหล็กเหนียวประเภทนี้จะมีการเคลือบทองแดงไว้ เพื่อป้องกันสนิม ลดการสึกหรอของหัวทิปอันเนื่องจากการเสียดสี ทั้งยังช่วยให้มีการเหนี่ยวนำกระแสไฟฟ้าได้ดีอีกด้วย ลวดเชื่อมซับเมอร์จเหมาะสำหรับงานเชื่อมเหล็ก สแตนเลส และวัสดุโลหะที่มีส่วนผสมของนิกเกิลเป็นส่วนผสม

  1. ลวดเชื่อมเซาะร่อง

ลวดเชื่อมชนิดพิเศษที่ออกแบบมาใช้ในงานตัด เซาะร่อง บาก หรือทำมุมเอียงเป็นหลัก ต่างกับลวดเชื่อมอื่น ๆ ที่นิยมใช้ในงานเชื่อมโดยเฉพาะ โดยลวดเชื่อมเซาะร่องสามารถใช้ร่วมกับวัสดุได้หลายประเภท ได้แก่ เหล็ก  สแตนเลส และอะลูมิเนียม เป็นต้น

แนวทางการเลือกขนาดของลวดเชื่อมให้เหมาะสมต่อการใช้งานเชื่อม

ลวดเชื่อมได้รับการผลิตขึ้นมาให้หลากหลายขนาด เพื่อรองรับต่อการใช้งานที่หลากหลาย โดยทั่วไปแล้วมักจะมีจำหน่ายตามขนาด ดังนี้

  • การเชื่อมไฟฟ้า ลวดเชื่อมมีให้เลือกขนาดตั้งแต่ 6 2.0 2.6 3.2 4.0 5.0 และ 6.0 มิลลิเมตร แล้วแต่ประเภทของงานเชื่อมนั้น ๆ ด้วย
  • การเชื่อมมิก ลวดเชื่อมโดยทั่วไปจะมีให้เลือกขนาดตั้งแต่ 8 0.9 1.0 1.2 และ 1.6 มิลลิเมตร แต่ก็ยังมีขนาดพิเศษ เช่น 0.6, 1.4, 2.0 หรือ 2.4 มิลลิเมตร ซึ่งไม่เป็นที่นิยมและหาค่อนข้างยาก
  • การเชื่อมทิก ลวดเชื่อมโดยทั่วไปจะมีให้เลือกขนาดตั้งแต่ 0 1.2 1.6 2.0 2.4 และ 3.2 มิลลิเมตร และขนาดพิเศษอื่น เช่น 0.3, 0.4, 0.5, 0.6, 0.8 มิลลิเมตร ซึ่งจะเหมาะสำหรับงานเชื่อมเลเซอร์ที่ต้องการความประณีตเช่นงานเชื่อมแม่พิมพ์
  • การเชื่อมฟลักซ์คอร์ไวร์ ลวดเชื่อมโดยทั่วไปจะมีให้เลือกขนาดตั้งแต่ 8 1.0 1.2 และ 1.6 มิลลิเมตร และขนาดใหญ่พิเศษเช่น 2.0 และ 2.4 มิลลิเมตร
  • การเชื่อมซับเมอร์จ ลวดเชื่อมที่นิยมใช้มีขนาดตั้งแต่ 6 2.0 2.4 3.2 และ 4.0 มิลลิเมตร
  • การเชื่อมแก๊ส ขนาดลวดเชื่อมโดยทั่วไปมีตั้งแต่ 5 1.6 2.0 2.4 2.5 2.6 3.2 มิลลิเมตร และแบบแบน

อย่างไรก็ตาม นอกจากจะต้องพิจารณาถึงลักษณะงานที่ทำ และทราบรายละเอียดของงานแล้ว ยังต้องพิจารณาถึงขนาดที่เหมาะสมระหว่างลวดเชื่อม และตัวชิ้นงานเอง เพื่อให้สามารถใช้งานได้สะดวก และเพื่อป้องกัน อันตรายจากงานเชื่อม ซึ่งจะยกตัวอย่างของลวดเชื่อมไฟฟ้ากับการใช้งานในแต่ละขนาดให้พิจารณาตามความเหมาะสม ดังนี้

  1. ลวดเชื่อมขนาด 6 มิลลิเมตร เหมาะสำหรับเหล็กบาง 0.8 ถึง 1.0 มิลลิเมตร และงาน DIY ทั่วไป
  2. ลวดเชื่อมขนาด 0 มิลลิเมตร เหมาะสำหรับเหล็กบางประมาณ 1 มิลลิเมตร
  3. ลวดเชื่อมขนาด 6 มิลลิเมตร เหมาะสำหรับเหล็กตัวซี เหล็กกล่อง และเหล็กทั่วไป
  4. ลวดเชื่อมขนาด 2 มิลลิเมตร เหมาะสำหรับงานโครงสร้างเหล็กทั่วไป และงานเชื่อมเรือเดินทะเล

ข้อสงสัยที่พบได้บ่อยในการเลือกซื้อ 'ลวดเชื่อมไฟฟ้า' ไว้ใช้งาน

  • ลวดเชื่อมไฟฟ้า 6 กับลวดเชื่อมไฟฟ้า 3.2 ต่างกันอย่างไร?

ลวดเชื่อมไฟฟ้า 2.6 คือลวดเชื่อมที่มีเส้นผ่านศูนย์กลางแกนลวดเชื่อมขนาด 2.6 มิลลิเมตร ในขณะที่ลวดเชื่อมไฟฟ้า 3.2 มีเส้นผ่านศูนย์กลางแกนลวดเชื่อมขนาด 3.2 มิลลิเมตร เบื้องต้นคือแตกต่างกันในด้านของขนาด ส่งผลให้ความเหมาะสมในงานเชื่อมจึงมีความแตกต่างกันด้วย โดยลวดเชื่อมขนาด 2.6 มิลลิเมตร เหมาะกับการเติมชิ้นงานที่มีแนวเชื่อมไม่มาก เพราะเชื่อมเติมช่องว่างระหว่างแนวเชื่อมชิ้นงานได้ช้ากว่าเนื่องจากมีขนาดที่เล็กกว่า รวมไปถึงใช้กระแสไฟที่ต่ำกว่า ในขณะที่ลวดเชื่อมขนาด 3.2 มิลลิเมตร เหมาะสำหรับการเชื่อมชิ้นงานที่มความหนา และที่มีแนวเชื่อมใหญ่ สามารถเติมแนวเชื่อมได้เร็วกว่า และใช้กระแสไฟเชื่อมที่สูงกว่า

  • ลวดเชื่อม 308 กับลวดเชื่อม 309 ต่างกันอย่างไร?

ลวดเชื่อม 308 และลวดเชื่อม 309 คือลวดเชื่อมไฟฟ้าสแตนเลสเหมือนกัน เพียงแต่มีการแบ่งตามประเภทของเกรดสแตนเลสที่เป็นส่วนผสมในการผลิตลวดเชื่อมนั้น ๆ โดยลวดเชื่อม 308 เหมาะสำหรับเชื่อมชิ้นงานสแตนเลสเกรด 304 และ 308 ในงานเชื่อมทั่วไป เช่น เชื่อมประตูรั้ว หรือใช้ในงานทำเฟอร์นิเจอร์ ขณะที่ลวดเชื่อม 309 ผลิตจากสแตนเลสเกรด 309 นิยมใช้เชื่อมโลหะต่างชนิดกัน เช่น ใช้เชื่อมรองพื้นก่อนที่จะใช้ลวดเชื่อมสแตนเลส 308 เชื่อมทับชิ้นงานภายหลัง เป็นต้น

  • ลวดเชื่อมไฟฟ้า 1 กิโลกรัม มีทั้งหมดกี่เส้น?

จำนวนเส้นลวดเชื่อมในปริมาณกล่อง 1 กิโลกรัม ของแต่ละแบรนด์จะไม่เท่ากัน รวมถึงขึ้นอยู่กับขนาดของลวดเชื่อมนั้น ๆ ด้วย ยิ่งลวดเชื่อมมีขนาดใหญ่ จำนวนเส้นก็จะลดลงตามไปด้วย เพราะแลกมาด้วยขนาดที่ใหญ่ขึ้น โดยส่วนใหญ่แล้วปริมาณเบื้องต้นสำหรับลวดเชื่อม 1 กิโลกรัม มีตั้งแต่ประมาณ 15 เส้น ไปจนถึงระดับประมาณ 150 เส้นขึ้นไป

  • ลวดเชื่อมไฟฟ้า 6 มีทั้งหมดกี่เส้น?

เช่นเดียวลวดเชื่อม 1 กิโลกรัม ลวดเชื่อมขนาด 2.6 มิลลิเมตร ของแต่ละแบรนด์จะไม่เท่ากัน โดยมาตรฐานเบื้องต้นส่วนใหญ่แล้ว ปริมาณลวดเชื่อมขนาด 2.6 มิลลิเมตร ใน 1 กล่อง มักมีน้ำหนักประมาณ 2 กิโลกรัม จำนวนลวดเชื่อมจะมีอยู่ประมาณ 100-105 เส้น

 

ลวดเชื่อม

ลวดเชื่อมคุณภาพได้มาตรฐาน ได้แนวเชื่อมที่มีคุณภาพ และได้งานที่มีประสิทธิภาพ ไว้ใจ KOVET

KOVET เราคือผู้นำด้านการจำหน่ายชิ้นส่วนและอุปกรณ์อุตสาหกรรมชั้นนำในประเทศ มีลวดเชื่อมและอุปกรณ์ใช้งานให้เลือกมากมาย หลายรุ่นหลายเกรด ครบทุกประเภทตอบโจทย์ทุกกระบวนการเชื่อม ราคาไม่แพง สินค้าการันตีคุณภาพมาตรฐาน คัดสรรจากแบรนด์ชั้นนำระดับโลกจากแบรนด์ KOVET พร้อมจำหน่ายสินค้าที่ใช้งานร่วมกับลวดเชื่อม อาทิ เครื่องเชื่อมไฟฟ้าประเภทต่าง ๆ กระบอกอบลวดเชื่อม ฝาครอบลวดเชื่อมแบบถัง รถเข็นลวดเชื่อมแบบถัง ลวดเชื่อมเซาะร่อง ลวดเชื่อมทังสเตน สนใจสินค้าอะไรสอบถามทีมงานของเราได้เลย เรายินดีให้บริการระดับมืออาชีพที่มอบความสะดวกสบายให้กับลูกค้ามากกว่าที่เคย ทั้งการรับประกันสินค้า การให้คำแนะนำโดยทีมวิศวกรและช่างเทคนิคมืออาชีพ ติดต่อประสานงานง่ายทั้งก่อนและหลังการขาย ท่านใดที่มีความสนใจ รับชมสินค้าเพิ่มเติมได้ทางหน้าเว็บไซต์ของ KOVET

ทีมงานที่เชี่ยวชาญของเรายินดีให้คำปรึกษา

หากสนใจสินค้าลวดเชื่อมต่างๆ สามารถติดต่อเราได้ที่

@kovet

[email protected]