เครื่องเชื่อม ตัด
ตู้เชื่อมไฟฟ้าคุณภาพสูง ประกันนาน 2 ปี จาก KOVET
การเลือกตู้เชื่อมไฟฟ้าให้เหมาะกับพื้นผิวและหน้างานถือเป็นเรื่องสำคัญที่ช่างและเจ้าของงานทุกคนต้องใส่ใจ เพราะ ถ้าหากเลือกตู้เชื่อมที่ไม่ตรงกับชิ้นงานมาเมื่อไหร่ นอกจากจะได้ชิ้นงานที่ไม่สวยงามเท่าที่ควรแล้ว แนวการเชื่อมก็จะสึกกร่อนง่าย และทำให้งานเชื่อมไม่มีประสิทธิภาพ เป็นเหตุให้ต้องเสียเวลาซ่อมแซม อีกทั้งยังต้องเสียเงินซ่อมใหม่ รวมถึงเสียเงินซื้อวัสดุอย่างลวดเชื่อม รวมถึงตู้เชื่อมไฟฟ้าใหม่ซ้ำซ้อน
ซึ่งการเลือกซื้อตู้เชื่อมคุณภาพสูงจากบริษัท กู๊ดวิล แมชชิน จำกัดนั้น นอกจากคุณจะได้เลือกสรรตู้เชื่อมไฟฟ้าจากหลายแบรนด์ทั้ง KOVET และ Alibaba แล้ว ทางบริษัทยังมาพร้อมกับตู้เชื่อมสำหรับงานประเภทต่าง ๆ อาทิ ตู้เชื่อม TIG (GTAW) เครื่องเชื่อม MIG (GMAW) หรือที่หลาย ๆ คนเรียกว่าตู้เชื่อม MIG รวมไปถึงตู้เชื่อมไฟฟ้า MMA เป็นต้น เครื่องเชื่อมทุกรุ่นของทุกประเภทได้ผ่านการออกแบบและมีการผลิตที่ได้คุณภาพ มาตรฐานระดับสากล เหมาะสำหรับช่างเชื่อมที่เพิ่งเรียนฝึกหัดและต้องการเรียนรู้การเชื่อมกับตู้เชื่อมไฟฟ้าที่ถูกต้อง ไปจนถึงช่างเชื่อมผู้ที่มีประสบการณ์เฉพาะทาง
ทำไมต้องเลือกซื้อตู้เชื่อมไฟฟ้าจาก KOVET
ตู้เชื่อมไฟฟ้า จากแบรนด์ KOVET และ Alibaba ของทางบริษัททุกรุ่นและทุกประเภทจะผ่านการทดสอบการใช้งานจริงทุกชิ้น เพื่อการรับรองคุณภาพของสินค้าตามมาตรฐานระดับสากลก่อนส่งถึงมือคุณทุกครั้ง นอกจากนี้ การซื้อตู้เชื่อมทุกประเภท ไม่ว่าจะเป็นตู้เชื่อม TIG, MIG, MMA หรือตู้เชื่อมไฟฟ้าแบบไหนก็ตาม KOVET ยังมีการรับประกันคุณภาพของสินค้านานถึง 2 ปี พร้อมมีบริการจัดส่งที่รวดเร็ว ดูแลให้ถึงหน้างาน ที่สำคัญ คุณสามารถขอคำปรึกษาเกี่ยวกับสินค้าและวิธีการใช้งานเครื่องเชื่อมประเภทต่าง ๆ และตู้ตัดพลาสม่าได้จากทีมงานมืออาชีพ ผู้มีประสบการณ์เฉพาะทางโดยตรงจาก KOVET ได้ตลอดเวลา
แต่ถ้าหากยังไม่ทราบว่าจะซื้อตู้เชื่อมไฟฟ้าแบบไหนดี KOVET ได้รวบรวมรายละเอียดของตู้เชื่อมแต่ละรุ่นมาให้ดังนี้
ตู้เชื่อม MMA (SMAW)
ตู้เชื่อมไฟฟ้า MMA เหมาะสำหรับใช้กับงานอะไร?
-
ตู้เชื่อมไฟฟ้า MMA เหมาะสำหรับการเชื่อมเหล็กด้วยธูปเชื่อม (SMAW - STICK) ซึ่งการเชื่อมเช่นนี้จะเป็นการเชื่อมโลหะที่หลากหลายมากที่สุด โดยสามารถเชื่อมโลหะได้ทั้งที่เป็นเหล็กและไม่ใช่เหล็ก
-
นอกจากนี้ ตู้เชื่อมไฟฟ้าประเภทนี้ยังสามารถปรับกระแสเชื่อมให้เหมาะสมกับงานเชื่อมแต่ละชนิดได้ อีกทั้งยังช่วยให้ช่างเชื่อมได้เร็ว เคลื่อนย้ายอุปกรณ์ไปทำงานตามจุดต่าง ๆ ได้ง่าย พกพาได้สะดวก
-
ที่สำคัญ การใช้ตู้เชื่อมตัวนี้ยังไม่จำเป็นต้องใช้ทักษะในการเชื่อมสูง มีระบบป้องกันกระแสไฟ การโหลด หรือความร้อนเกิน เพื่อความปลอดภัยสูงสุดในการใช้งาน สามารถเชื่อมงานได้ต่อเนื่อง
ตู้เชื่อม TIG (GTAW)
ตู้เชื่อม TIG เหมาะสำหรับใช้กับงานอะไร?
-
ตู้เชื่อม TIG สามารถเชื่อมได้ทั้งธูป (STICK) และเชื่อม TIG (GTAW) เหมาะสำหรับชิ้นงานที่ต้องการความสวยงามของแนวเชื่อมไปพร้อม ๆ กับความทนทานของการเชื่อม
-
ตู้เชื่อม TIG จาก KOVET เป็นเครื่องแบบพิเศษที่ใช้เทคโนโลยีอินเวอร์เตอร์ (Inverter) เพื่อให้ได้งานเชื่อมที่มีประสิทธิภาพสูงสุด
-
ติดตั้งง่าย ใช้งานง่าย เชื่อมง่าย ได้ชิ้นงานสวย เหมาะสำหรับช่างเชื่อมทุกระดับที่ต้องการเริ่มต้นเรียนรู้การเชื่อมโดยใช้ตู้เชื่อม TIG มีทั้งตู้เชื่อมรุ่นที่สามารถใช้กระแสไฟได้สองแบบ (กระแสตรงและกระแสสลับ) และเครื่องที่ใช้แค่ไฟฟ้ากระแสสลับอย่างเดียวให้เลือกใช้ตามความถนัดของช่าง และความเหมาะสมของชิ้นงาน
ตู้เชื่อม MIG/ MAG CO2 (GMAW)
เครื่องเชื่อม MIG เหมาะสำหรับใช้กับงานอะไร?
-
ตู้เชื่อม MIG/MAG CO2 เป็นตู้เชื่อมไฟฟ้าแบบพิเศษที่สามารถนำลวดเชื่อมลงชิ้นงานได้โดยอัตโนมัติจากเครื่องเชื่อม ด้วยเหตุนี้ เครื่องเชื่อม MIG จึงเหมาะสำหรับการเชื่อมโลหะเกือบทุกชนิด ไม่ว่าจะเป็นเหล็ก สเตนเลส อลูมิเนียม ทองแดงและเหล็กเหนียว
-
เครื่องเชื่อม MIG เหมาะกับช่างที่มีความชำนาญในการเชื่อม และไม่เหมาะกับการเคลื่อนย้ายบ่อย ๆ ตู้เชื่อม MIG จาก KOVET นั้นเป็นเครื่องเชื่อมเหล็กที่มีคุณภาพสูง มีระบบป้องกันความร้อนเกินพิกัด และมีระบบควบคุมกระแสไฟฟ้าตั้งแต่เริ่มต้นใช้งาน ทำให้มั่นใจได้ว่าจะปลอดภัยในทุก ๆ ขั้นตอน
ตู้ตัดพลาสม่า
ตู้ตัดพลาสม่าเหมาะสำหรับใช้กับงานอะไร?
-
ตู้ตัดพลาสม่าเป็นเครื่องตัดชิ้นงานโลหะที่สามารถตัดได้ทุกชนิด ทุกความหนาบาง ไม่ว่าจะเป็นเหล็ก สเตนเลส อลูมิเนียม ทองเหลือง ทองแดงหรือโลหะนำไฟฟ้าต่าง ๆ
-
ตู้ตัดพลาสม่านั้นต้องใช้ความชำนาญของช่างในการตัดชิ้นงานเพื่อให้มีประสิทธิภาพมากที่สุด ตู้ตัดพลาสม่าคุณภาพสูงจาก KOVET นั้นจะทำให้ได้ชิ้นงานที่มีความสวยงาม ไม่ทำให้ชิ้นงานบิดงอหรือเสียรูปทรง
เทียบชัด ๆ ตู้เชื่อมไฟฟ้าแต่ละประเภทแตกต่างกันอย่างไร?
ถ้าหากช่างหรือผู้ดูแลงานคนไหนยังไม่แน่ใจว่าควรจะเลือกตู้เชื่อมประเภทไหนในการใช้งานนั้น KOVET จึงขอสรุปความแตกต่างของตู้เชื่อมไฟฟ้าทุกประเภทมาให้ได้เลือกพิจารณา ดังนี้
ลักษณะการใช้งาน | ตู้เชื่อม MMA | ตู้เชื่อม TIG | ตู้เชื่อม MIG | ตู้ตัดพลาสม่า |
---|---|---|---|---|
เหมาะสำหรับการใช้งานประเภทไหน | การเชื่อมเหล็กด้วยธูปเชื่อม สามารถเชื่อมได้ทั้งโลหะที่เป็นเหล็กและไม่ใช่เหล็ก | ตู้เชื่อมบางตัวสามารถเชื่อมแบบอาร์กอนได้อย่างเดียว ในขณะที่บางรุ่นสามารถเชื่อมกับวัตถุประเภทอื่น ๆ ได้ | เชื่อมโลหะได้หลายประเภททั้งเหล็ก สเตนเลส และอลูมิเนียม | ตัดโลหะ |
ระดับความชำนาญของช่าง | ช่างทุกระดับความชำนาญ | ช่างที่มีพื้นฐานการเชื่อมไปจนถึงช่างระดับชำนาญการ | ช่างที่มีความชำนาญสูง | ช่างที่มีความชำนาญสูง |
ข้อดี | เชื่อมได้เร็ว เชื่อมได้หลากหลาย พกพาอุปกรณ์ได้สะดวก | เชื่อมชิ้นงานบางได้โดยไม่เกิดสะเก็ดไฟ ควันน้อย ให้ความเรียบเนียน | เชื่อมโลหะได้ทุกชนิด เครื่องเชื่อม MIG สามารถเดินแนวเชื่อมได้ละเอียด สวยงาม และเชื่อมได้เร็ว | ตัดโลหะได้ทุกชนิดได้อย่างสวยงาม ไม่ทำให้ชิ้นงานบิดเบี้ยว หรืองอ |
ข้อเสีย | เกิดสะเก็ดไฟในการเชื่อม ซึ่งอาจเป็นอันตรายได้ | ราคาสูง การตั้งค่าซับซ้อน ใช้แก๊สเป็นตัวเชื่อม เชื่อมได้ค่อนข้างช้า | เคลื่อนย้ายลำบาก เหมาะสำหรับโรงงานอุตสาหกรรม | ราคาสูง ต้องเปลี่ยนอะไหล่บ่อย |
หากคุณกำลังมองหาตู้เชื่อมไฟฟ้าและการบริการที่ตอบโจทย์ทุกความต้องการ บริษัทในเครือ กู๊ดวิล แมชชิน มาพร้อมกับตู้เชื่อมคุณภาพสูง และทีมงานกว่า 150 คนพร้อมยินดีให้การบริการทางด้านข้อมูลเกี่ยวกับสินค้า การซ่อมบำรุง การให้คำแนะนำการดูแลรักษาสินค้า เพื่อสร้างความมั่นใจและรอยยิ้มของลูกค้าทุกท่าน
หากท่านมีข้อสงสัยเกี่ยวกับการใช้งานและคุณสมบัติของสินค้าแต่ละชนิด อย่างเครื่องเชื่อม MIG และอื่น ๆ ทีมงานจาก KOVET พร้อมยินดีให้คำปรึกษาและแนะนำสินค้าต่าง ๆ ที่ตรงตามการใช้งาน เพื่อให้คุณได้รับสิ่งที่ดีที่สุดและคุ้มค่าที่สุด
เครื่องเชื่อม เครื่องมือช่างที่จะทำให้งานเชื่อมต่อวัสดุได้ง่ายขึ้น
เครื่องเชื่อม (Welding Machine) คือ อุปกรณ์ทุ่นแรงชิ้นสำคัญสำหรับงานเชื่อม โดยใช้พลังงานไฟฟ้าในการเชื่อมชิ้นงานระหว่างโลหะหรืออโลหะเข้าด้วยกัน ซึ่งหลักการทำงานของเครื่องเชื่อมจะอาศัยความร้อนจากอาร์กระหว่างอิเล็คโทรดกับวัสดุหรือชิ้นงานที่ต้องการทำการเชื่อม เพื่อหลอมละลายให้วัสดุและชิ้นงานติดกันตามความต้องการ
รูปแบบเครื่องเชื่อมที่นิยมใช้งานในปัจจุบัน
- เครื่องเชื่อม TIG: แต่ช่างผู้ใช้งาน จะนิยมเรียกว่าเครื่องเชื่อมอาร์กอน เนื่องจากเป็นเครื่องเชื่อมที่ใช้แก๊สอาร์กอน ปกคลุมแนวเชื่อม โดยมีอิเล็กโทรดเป็นทังสเตนในการเชื่อม โดยบริเวณบ่อหลอมจะมีก๊าซเฉื่อยปกคลุม สำหรับป้องกันการปนเปื้อนหรือการทำปฏิกิริยากับอากาศรอบข้าง และก๊าซเฉื่อยที่ได้รับความนิยมใช้ ก็คือ ก๊าซอาร์กอนหรือฮีเลียม นั่นเอง จุดเด่นของเครื่องเชื่อม TIG อยู่ที่แนวเชื่อมที่ได้จะมีความเนี้ยบสวยงาม แนวเชื่อมสะอาด ควันน้อยไม่มีประกายไฟ และสามารถเชื่อมโดยไม่ต้องใช้ลวดเติมได้
- เครื่องเชื่อมไฟฟ้า หรือ MMA: เครื่องเชื่อมที่ใช้ความร้อนจากอาร์กระหว่างลวดเชื่อมหุ้มฟลักซ์กับชิ้นงาน ใช้กระแสไฟตรงหรือ DC ในการเชื่อม ปัจจุบันเครื่องเชื่อมชนิดนี้เป็นระบบอินเวอร์เตอร์ ข้อดีของเครื่องเชื่อมระบบอินเวอร์เตอร์อยู่ที่น้ำหนักเบา เคลื่อนย้ายอุปกรณ์ง่าย ประหยัดพลังงาน ราคาถูกกว่าเครื่องเชื่อมชนิดอื่น และไม่ต้องใช้ก๊าซอีกด้วย
- เครื่องเชื่อม MIG/MAG: เครื่องเชื่อมที่ใช้ก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์หรืออาร์กอนเข้าไปปกคลุมในงานเชื่อม และไม่จำเป็นต้องใช้มือป้อนลวดเชื่อมเข้าไปเหมือนการเชื่อม TIG เพราะการเชื่อมประเภทนี้มาพร้อมกับระบบการป้อนลวดอัตโนมัติที่จะเติมลวดเชื่อมลงบนชิ้นงานให้เอง
คุณสมบัติของเครื่องเชื่อมที่ต้องพิจารณาเมื่อต้องเลือกซื้อ
- กระแสไฟเชื่อม มีหน่วยเป็น แอมแปร์ (Amperage)
กระแสไฟสูงสุดของเครื่องเชื่อมในแต่ละรุ่นจะไม่เท่ากัน ซึ่งเป็นค่าที่แสดงถึงกำลังที่เครื่องเชื่อมรุ่นนั้นๆสามารถเชื่อมได้ ซึ่งหลักการเลือกเครื่องเชื่อมง่าย ๆ คือ ให้เลือกจากขนาดของลวดเชื่อมก่อนเลือกซื้อเครื่องเชื่อมในแต่ละครั้งและจะต้องพิจารณาร่วมด้วยว่าคุณต้องการนำเครื่องเชื่อมไปใช้เชื่อมกับวัสดุอะไร มีวัตถุประสงค์ในการใช้งานอย่างไร เพื่อที่จะได้เลือกซื้อเครื่องเชื่อมที่มีกำลังค่าแอมแปร์ หรือกระแสไฟเชื่อม รองรับต่อการใช้งานได้อย่างลงตัว
- วัฏจักรการทำงาน (Duty Cycle)
เครื่องเชื่อมส่วนใหญ่จะมีระบบตัดไฟอัตโนมัติ เพื่อป้องกันไม่ให้เครื่องเชื่อมร้อนเกินไป จนเสี่ยงต่อการเกิดอันตรายขณะใช้งานได้ โดยเครื่องเชื่อมจะมีการระบุรอบการทำงานเป็นค่าแอมแปร์ไว้ให้ชัดเจน ซึ่งค่านี้จะส่งผลต่อผู้ที่ต้องการใช้งานเครื่องเชื่อมต่อเนื่อง หากต้องการเครื่องเชื่อมที่ใช้งานได้ยาวนานต่อเนื่อง ควรเลือกเครื่องเชื่อมที่มีวัฏจักรการทำงานสูง ๆ เช่น Duty Cycle 60% หรือ 100% เพราะจะได้ไม่ต้องพักเครื่องนานจนเกินไป
- ฟังก์ชั่นพัลล์ (Pulse Function)
เครื่องเชื่อมรุ่นใหม่มักมีฟังก์ชั่นพัลล์แถมมาให้ด้วย ซึ่งฟังก์ชั่นพัลล์ คือฟังก์ชั่นที่ช่วยให้คุณสามารถเชื่อมวัสดุบางๆ ,อะลูมิเนียมและสแตนเลสได้มีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น โดยมีหลักการทำงาน คือ การจ่ายกระแสเชื่อม ทั้งกระแสไฟหลักและกระแสไฟรองสลับกันไปมาต่อเนื่อง ทำให้ความร้อนสะสมที่ชิ้นงานน้อย และยังทำให้แนวเชื่อมเป็นเกล็ดที่สวยงามอีกด้วย พบได้ในเครื่องเชื่อม TIG และเครื่องเชื่อม MIG/MAG นอกจากคุณประโยชน์ในการเชื่อมวัสดุจำพวกเหล็ก ,อะลูมิเนียมและสแตนเลสแล้ว ฟังก์ชั่นพัลล์มีคุณสมบัติการเชื่อมที่สม่ำเสมอ กระแสไฟนิ่งเสถียร ทำให้มีคุณภาพสูง
- ฟังก์ชั่นการปรับแรงดันไฟอัตโนมัติ (Synergic)
ฟังก์ชั่นใหม่ของเครื่องเชื่อม MIG/MAG แบบ Synergic ที่จะช่วยให้คุณสามารถเชื่อมชิ้นงานได้ต่อเนื่อง โดยระบบ Synergic คือระบบปรับแรงดันไฟอัตโนมัติที่สั่งการผ่านปุ่มปรับ 1 ปุ่ม สิ่งที่ผู้ใช้งานต้องทำ คือป้อนความหนาของวัสดุที่ต้องการเชื่อม ,กระแสไฟเชื่อม (แอมแปร์) เครื่องเชื่อมจะปรับแรงดันไฟที่ต้องการใช้ให้อัตโนมัติ อีกทั้งเครื่องเชื่อมบางรุ่นยังสามารถบันทึกโปรแกรมที่ใช้เชื่อมบ่อย ๆ ของคุณไว้ได้ด้วย ทำให้งานเชื่อมสะดวก ง่าย และรวดเร็วกว่าที่เคย ทำให้ผู้ที่ไม่มีความชำนาญในการใช้เครื่องเชื่อม ก็ใช้งานได้
เครื่องเชื่อม MIG และเครื่องเชื่อม MMA ต่างกันอย่างไร?
- รูปแบบการเชื่อม
เครื่องเชื่อมแต่ละประเภทต่างมีกระบวนการและขั้นตอนการเชื่อมที่แตกต่างกัน ซึ่งเครื่องเชื่อม MIG/MAG จะแตกต่างกับ MMA ตรงที่กระบวนการเชื่อม MIG/MAG จะต้องใช้แก๊สปกคลุมในการเชื่อมเพื่อป้องกันออกซิเจนหรืออากาศภายนอกเข้ามา ทำปฏิกิริยากับบ่อหลอมละลาย ในขณะที่เครื่องเชื่อม MMA เมื่อทำการเชื่อมฟลักซ์ที่หุ้มลวดเชื่อมจะกลายเป็นแก๊สปกคลุมแทน
- วัสดุที่เชื่อมได้
เครื่องเชื่อม MIG/MAG และ MMA สามารถเชื่อมวัสดุจำพวกโลหะได้หลากหลายชนิด อาทิ เหล็กคาร์บอน สแตนเลส และอะลูมิเนียม แต่การเลือกใช้งานขึ้นอยู่กับลักษณะการทำงานและสภาพแวดล้อมของการใช้งาน
- ความสามารถในการเชื่อม
เครื่องเชื่อม MIG/MAG ขึ้นชื่อในด้านความเสถียรและความเร็วในการเชื่อม จึงเหมาะสำหรับงานที่ต้องการความละเอียดแม่นยำ ต่างกับเครื่องเชื่อม MMA ที่เน้นในด้านความอเนกประสงค์ในการใช้งาน เหมาะสำหรับพกใช้งานนอกสถานที่ สามารถใช้เชื่อมงานในที่ ที่เข้าถึงยากได้
- ความยากในการใช้งาน
เครื่องเชื่อม MIG/MAG เหมาะสำหรับช่างมือใหม่ที่มีประสบการณ์ไม่สูง เพราะมีระบบการใช้งานง่าย สามารถปรับระดับความเร็วในการเชื่อมได้ตามต้องการ ในขณะที่เครื่องเชื่อม MMA จะมียากในขณะทำการเชื่อมมากกว่าทำให้ต้องใช้ความชำนาญในการใช้งานพอสมควร
รู้จักกับกระแสไฟของเครื่องเชื่อม
- กระแสตรง (DC)
เครื่องเชื่อม Inverter ที่ใช้กระแสไฟตรงในการเชื่อม ซึ่งเป็นกระแสที่มีการเรียงตัวของกระแสไฟฟ้าที่ใช้งานเพียงทางเดียว แบ่งออกได้ 2 ประเภท คือ DC+ และ DC- โดยข้อดีของเครื่องเชื่อมกระแสตรง คือสามารถใช้ในงานเชื่อมโลหะได้ทุกประเภท ทั้งชนิดบางและชนิดหนา มีกระแสไฟที่นิ่ง สม่ำเสมอ ทำให้ควบคุมแนวเชื่อมได้ง่าย
- กระแสไฟสลับ (AC)
กระแสไฟที่พบได้บ่อยในเครื่องเชื่อมชนิดหม้อแปลง โดยกระแสไฟจะสลับเปลี่ยนไปมาระหว่างขั้วลบและขั้วบวก จุดเด่นของเครื่องเชื่อมกระแสไฟสลับ คือมีความทนทานต่อการใช้งานได้มาก แต่ต้องติดตั้งสายดินขณะใช้งาน หากไม่ติดตั้งก็โอกาสที่จะได้รับอันตรายจากไฟฟ้าดูดได้ง่าย เหมาะสำหรับใช้ในงานเชื่อมโครงสร้างทั่วไป
ข้อควรระมัดระวังขณะใช้งานเครื่องเชื่อม
- อันตรายจากฟูม
ฟูม (Fume) คือ ของแข็งที่มีอนุภาคขนาดเล็กกว่า 1 ไมครอน ที่เปลี่ยนสถานะกลายเป็นก๊าซ มักเกิดจากการควบแน่นของไอจากปฏิกิริยาเคมีที่เกิดขึ้นขณะใช้งานเครื่องเชื่อม มักลอยตกค้างในอากาศเป็นเวลานานร่วมกับก๊าซอันตรายอื่น ๆ เช่น ก๊าซไนโตรเจนออกไซด์ ก๊าซโอโซน ก๊าซคาร์บอนมอนอกไซด์ และไอระเหยโลหะในอากาศ ล้วนแล้วแต่เป็นอันตรายต่อสุขภาพ ระบบทางเดินหายใจ และต่อปอดในระยะยาว
- อันตรายจากรังสี
การเชื่อมชิ้นงานมักจะใช้การอาร์กในการหลอมละลายลวดเชื่อมและชิ้นงานเข้าด้วยกัน ทำให้เกิดรังสีอินฟราเรด หรือรังสีใต้แดง (infra + red) และรังสีเหนือม่วง (Ultraviolet) อัลตราไวโอเลตขึ้น ซึ่งรังสีเหล่านี้มีอันตรายต่อสายตามนุษย์โดยตรง ถ้าจองไปที่แสงโดยตรงเป็นเวลานาน จะทำให้กระจกตาไหม้ได้ รวมถึงหากถูกผิวหนังจะทำให้ผิวหนังไหม้อีกด้วย ซึ่งเป็นอันตรายที่พบได้บ่อยๆ
- อันตรายจากสะเก็ดไฟ
ขณะทำการเชื่อมชิ้นงานอาจมีสะเก็ดไฟ ที่กระเด็นมาโดนผิวหนังได้ ช่างที่ปฏิบัติงานทุกคนจะต้องสวมใส่อุปกรณ์ป้องกันขณะทำงานทุกครั้ง ไม่ว่าจะเป็นถุงมือหนัง ,เอี๊ยมหนัง ,ปลอกแขนหนัง ,ปลอกขาหนัง ,หน้ากากป้องกัน มิเช่นนั้นอาจถูกสะเก็ดไฟจนเกิดแผลพุพองรุนแรงได้หากไม่ระมัดระวัง หากกระเด็นถูกตาก็อาจเป็นอันตรายถึงขั้นตาบอดได้เลยทีเดียว
- อันตรายจากไฟฟ้าดูด
เครื่องเชื่อมจะมีกระแสไฟฟ้าไหลผ่านจากเครื่องสู่ชิ้นงาน จึงควรที่จะต่อสายกราวด์ เพื่อให้กระแสไฟฟ้าไหลลงสู่ดินเสมอ ทำให้วงจรมีความสมบูรณ์ หากไม่ต่อสายกราวด์ก็มีโอกาสที่ผู้ใช้งานหรือผู้ใกล้เคียงเสี่ยงต่อการถูกไฟฟ้าดูดและเป็นอันตรายได้