การเชื่อม หมายถึง กระบวนการที่ทำให้โลหะหลอมละลายติดกัน โดยอาศัยความร้อนจากการอาร์ค(Arc) ที่จะเกิดขึ้นระหว่างโลหะงานกับลวดเชื่อม และการเชื่อมแก๊ส หมายถึง กระบวนการที่ทำให้โลหะประสานกัน โดยการให้ความร้อนกับโลหะงานจนถึง อุณหภูมิที่โลหะชนิดนั้นหลอมละลาย โลหะเมื่อหลอมละลายจะรวมตัวเข้าเป็นเนื้อเดียวกัน การเชื่อมแก๊สเป็น อีกวิธีหนึ่งที่นิยมใช้กันมากในปัจจุบัน การเชื่อมมักจะใช้เปลวไฟที่เกิดจากการสันดาประหว่างแก๊สเชื้อเพลิงกับอากาศ
ซึ่งในบทความนี้จะมายกตัวอย่างการเชื่อมแก๊ส ของชุดเชื่อม LPG VS AC ว่ามีลักษณะที่แตกต่างกันอย่างไร รวมถึง ข้อดีข้อเสีย ของเเก๊ส LPG เเละ AC
ความแตกต่างระหว่างแก๊ส LPG VS AC
-
การให้ความร้อน -->> LPG ให้ความร้อนสูงสุดได้ถึง 3,480 องศาเซลเซียส ในขณะที่ AC ให้ความร้อนอยู่ที่ 2,930 องศาเซลเซียส
-
สิ่งที่ตกค้างจากการเผาไหม้(ความบริสุทธิ์ของแก๊ส) -->> LPG มีส่วนผสมของสารที่ซึ่งอาจก่อให้เกิดฟองอากาศในเเนวเชื่อมเเละมีผลทำให้เเตก เปราะง่าย ในขณะที่ AC มีความบริสุทธิ์ของเเก๊สค่อนข้างมาก จึงทำให้งานเชื่อมสวยงาม เเข็งเเรงกว่านั่นเอง
-
น้ำหนัก -->> LPG น้ำหนักเบากว่าอากาศ เมื่อเกิดการรั่วไหล จะไหลลงไปรวมที่ต่ำ ในขณะที่ AC จะรอยขึ้นไปอยู่ด้านบน
-
แรงดัน -->> LPG สามารถใช้เเรงดันได้สูงถึง 60 FPS ซึ่งถือว่าเป็นเเรงดันขนาดสูง สามารถใช้ตัดเหล็กทั่วๆไปได้สบายได้ รวดเร็ว ในขณะที่ AC สามารถใช้เเรงดันได้เพียง 20PSI
โดยสรุปเเล้วเราจะเห็นได้ว่าไม่ว่าจะเลือกใช้เเก๊สชนิดใด ก็มีข้อดีเเละข้อเสียเเตกต่างกัน ทั้งนี้การเลือกใช้เเก๊สเเต่ละชนิดให้ถูกต้องตามประเภทของงานที่ทำ เป็นเรื่องที่สำคัญมาก เพื่อลดความเสี่ยงที่อาจจะเกิดขึ้น เเละดึงประสิทธิภาพของเเต่ละชนิดออกมาใช้งานให้ได้ดีที่สุดนั่นเอง ทั้งนี้ต้องขอบคุณทุกท่านที่เข้ามาอ่านรีวิวเราจนจบ บทความหน้านั้นเราจะนำความรู้เกี่ยวกับเรื่องไหนมาให้อ่านอีก ต้องติดตามกัน บอกเลยว่างานนี้ช่างเชื่อมห้ามพลาด