กระบวนการเชื่อมแบบฟลักซ์คอร์ หรือกระบวนการเชื่อมด้วยลวดเชื่อมไส้ฟลักซ์ (Flux Cored Arc Welding Process) กับกระบวนการเชื่อมแบบ MIG/MAG แตกต่างในเรื่องทฤษฎีในการแบ่งประเภทและข้อกำหนดในการใช้ลวดเชื่อม รวมถึงข้อกำหนดอื่นๆ
ลวดเชื่อมฟลักซ์คอร์จะให้คุณสมบัติแก่เนื้อเชื่อม ดังนี้
-
ต้านทานต่อการกัดกร่อนของแนวเชื่อม โดยการปรับส่วนผสมทางเคมี
-
ให้ความสามารถในการเติมเนื้อลวดเชื่อมได้สูง
-
เพิ่มความสมบูรณ์ของแนวเชื่อมโดยการปกคลุมบ่อหลวมละลายของแนวเชื่อม
-
ปฎิกิริยาของฟลักซ์กับน้ำโลหะจะช่วยขจัดสิ่งที่เป็นมลทินออกจากบ่อหลวมละลาย
-
สร้างชั้นสแลกปกคลุมแนวเชื่อมที่กำลังแข็งตัวออกจากอากาศ
-
สร้างความเสถียรของอาร์ค โดยให้กระแสไฟฟ้าผ่านได้ดี
ลวดเชื่อมฟลักซ์คอร์ ที่นิยมใช้มีอยู่ 2 ประเภทหลัก คือ
2.ลวดเชื่อมฟลักซ์คอร์ สำหรับสแตนเลส
ใช้กันอย่างแพร่หลายในการเชื่อมการประกอบเครื่องจักรโรงงานอุตสาหกรรม ถังแรงดันอุตสาหกรรม โดยมีตั้งแต่เกรด 308L,309L,316L มีขนาดตั้งแต่ 1.2 และ 1.6 มิลลิเมตร
ปัจจุบัน ลวดเชื่อมฟลักซ์คอร์ไม่ใช้แก๊ส เริ่มได้รับความนิยมมากขึ้นเนื่องจากสามารถเชื่อมนอกสถานที่ได้ดี ไม่จำเป็นต้องต่อถังแก๊ส ลวดเชื่อมฟลักซ์คอร์แบบไม่ใช้แก๊สถูกออกแบบมาสำหรับการเชื่อมตำแหน่งเหล็กอ่อนในทุกตำแหน่งที่ต้องการ ความแข็งแรงระดับปานกลางและความเหนียวที่ดีมาก มีข้อดีหากเปรียบเทียบกับ ลวด MIG/ MAG ปกติ แต่พอเชื่อมออกมาจะมีสแล็ก และตอนเชื่อมควันจะเยอะ
การเชื่อมแบบ Flux cored เทียบกับ MIG ปกติ
การปรับตั้งเครื่องเชื่อมสำหรับการเชื่อมแบบฟลักซ์คอร์
เริ่มต้นตั้งแต่การปรับแรงกดล้อขับลวด จะต้องปรับเพียงแค่ให้ลวดสามารถถูกขับออกไปโดยไม่มีการลื่นหรือหมุนฟรีเท่านั้น จะต้องปรับเพียงแค่ให้กดแรงเกินไป เนื่องจากเกิดการติดขัดในสายเชื่อมในที่สุด แรงดันเชื่อมและกระแสเชื่อมให้สัมพันธ์กันการปรับความเร็วลวดจะเป็นการปรับระดับของกระแสเชื่อม