ก่อนที่จะเลือกเครื่องเชื่อมให้เหมาะสมกับงาน ต้องรู้จักก่อนว่าการเชื่อมคืออะไร เครื่องเชื่อมคืออะไร ซึ่งการเชื่อมเป็นกระบวนการที่ใช้สำหรับต่อโลหะเข้าด้วยกันโดยใช้ลวดเชื่อมเพื่อใช้ในการต่อเชื่อมชิ้นงานได้ ในส่วนของเครื่องเชื่อม คือเครื่องผลิตกระแสไฟเชื่อม เพื่อใช้ในการเชื่อมประสานชิ้นงานเข้าด้วยกัน
ผู้ที่สนใจในงานเชื่อมจะต้องเลือกใช้เครื่องเชื่อมให้เหมาะสมกับลักษณะของงานเพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุด โดยการใช้เครื่องเชื่อมไฟฟ้าแต่ละชนิดมีความแตกต่างกัน ไม่ว่าจะเป็นด้านคุณสมบัติของการใช้งาน หรือคุณภาพของชิ้นงานเชื่อมฯลฯ จึงเป็นสิ่งจำเป็นอย่างยิ่งที่ช่างผู้ใช้งานจะต้องทำความเข้าใจเกี่ยวกับวัสดุ ความหนาของชิ้นงาน และอุปกรณ์การเชื่อมไฟฟ้าได้เป็นอย่างดี เครื่องเชื่อมไฟฟ้าที่นิยมใช้ในท้องตลาดมีดังนี้
1.เครื่องเชื่อม MMA (Manual Metal Arc Welding)
ข้อดี
- เชื่อมได้เร็ว
- เคลื่อนย้ายอุปกรณ์ง่าย ไม่ใช้แก๊ส
- พกพาสะดวก/ราคาประหยัด
ข้อเสีย
- ควันมาก
- ไม่สามารถเชื่อมต่อเนื่อง
- ต้องมีแหล่งจ่ายไฟ
2.เครื่องเชื่อม TIG (Tungsten Inert Gas Welding หรือ GTAW)
เครื่องเชื่อม TIG (Tungsten Inert Gas Welding หรือ GTAW) หรือเครื่องเชื่อมอาร์กอน เป็นกระบวนการเชื่อมแบบอาร์คชนิดหนึ่งที่ใช้ แท่งอิเล็กโทรดเป็นทังสเตนในการเชื่อม บริเวณบ่อหล่อมจะมีแก๊สเฉี่อยปกคลุม เพื่อป้องกันบ่อหลอมจากการปนเปื้อนหรือการทําปฏิกิริยากับอากาศรอบข้างแก๊สเฉื่อยที่ใช้กันทั่วไปคืออาร์กอนหรือฮีเลียม เครื่องเชื่อมประเภทนี้เหมาะสําหรับงานคุณภาพที่ต้องอาศัยความปราณีตของช่างที่มีประสบการณ์ในการเชื่อม เหมาะกับการเชื่อมสแตนเลสและอลูมิเนียม (รวมถึงชิ้นงานที่บางๆ)
ข้อดี
- การควบคุมคุณภาพ แนวเชื่อมสวยงาม
- ความแข็งแรงของแนวเชื่อม
- สะอาด ควันน้อย ไม่มีประกายไฟ
ข้อเสีย
- เชื่อมได้ช้า
- ต้องใช้ความชํานาญในการเชื่อม
- การตั้งค่าค่อนข้างซับซ้อน
3.เครื่องเชื่อมแบบMIG (Metal Inert Gas)
เครื่องเชื่อมแบบMIG (Metal Inert Gas) หรือเครื่องเชื่อมคาร์บอน(CO2) เป็นเครื่องเชื่อมที่ใช้การป้อนเนื้อลวดลงที่ชิ้นงานโดยอัตโนมัติจากเครื่อง ซึ่งเครื่องเชื่อม CO2 ชนิดนี้อาจจะใช้แก๊สผสมด้วยคาร์บอนก็ได้ขึ้นอยู่กับชิ้นงานที่ต้องการเชื่อม ข้อแตกต่างจากการเชื่อมอาร์กอน คือ เครื่องเชื่อม CO2 จะใช้แก๊ส CO2 และไม่ต้องใช้คนป้อนลวดเหมือนเชื่อมอาร์กอน เชื่อมได้ทั้งเหล็ก สแตนเลสและอลูมิเนียม แล้วแต่ลวดที่ป้อนจะเชื่อมชิ้นงาน หากจะเชื่อมอลูมิเนียม ก็ต้องมีการเปลี่ยนท่อนำลวด (Liner) เครื่องเชื่อมประเภทนี้เหมาะสําหรับงานเชื่อมตามโรงงานอุตสาหกรรม งานเชื่อมที่ต้องการคุณภาพงานสูง เหมาะกับการเชื่อมงานทุกประเภท
ข้อดี
- เชื่อมโลหะได้เกือบทุกชนิด เหล็ก สแตนเลส อลูมิเนียม ทองแดง เหล็กเหนียว
- การเชื่อมสามารถเดินแนวเชื่อมได้อย่างต่อเนื่องและเร็วกว่าการเชื่อมไฟฟ้าที่ใช้ธูปเชื่อมที่ต้อง เปลี่ยนธูปเชื่อมบ่อยๆ
ข้อเสีย
- ไม่เหมาะกับการเคลื่อนย้ายบ่อยๆ
4.เครื่องตัดพลาสม่า (Plasma)
เครื่องตัดพลาสม่า (Plasma) เป็นเครื่องตัดที่ต้องต่อกับปั๊มลมไฟฟ้าส่งไปที่ลมที่มีความเร็วตรงหัวปืนตัดทําให้ลมกลายเป็นพลาสม่า (Solid liquid gas plasma) ลมพลาสม่าผลักออกไปตัดชิ้นงาน เครื่องตัดพลาสม่าสามารถตัดชิ้นงานที่เป็นโลหะได้ทุกชนิดแต่ความหนาไม่เท่ากัน ขึ้นอยู่กับชนิดโลหะ เช่น ตัดเหล็กได้ความหนามากที่สุดรองลงมาคือสแตนเลสและอลูมิเนียมตามลำดับ
ข้อดี
- สามารถตัดชิ้นงานที่มีความเว้าโค้งหรือรูปร่างต่างๆ ได้โดยง่าย สูญเสียเนื้อชิ้นงานน้อย
- สภาพรอยตัดจะมีความราบเรียบและสวยงามมีความเรียบร้อย
ข้อเสีย
- ราคาสูงกว่าการตัวโดย Oxy fuel
- คุณภาพงานต้องขึนกับความชํานาญของผู้ใช้
- เครื่องตัดพลาสม่าต้องเปลี่ยนอะไหล่สิ้นเปลืองบ่อย
กำลังไฟเครื่องเชื่อม (Current Range)
การเลือกกำลังไฟของเครื่องเชื่อมขึ้นอยู่กับวัสดุที่ต้องการเชื่อม ความหนาของชิ้นงาน ทั้งนี้การเลือกเครื่องเชื่อมควรเลือกให้เหมาะกับการใช้งานเพื่อประสิทธิภาพการใช้งานสูงสุด และ ผู้ใช้งานสามารถดูคู่มือเครื่องเชื่อมได้เพื่อปรับกระแสไฟให้เข้ากับชิ้นงาน