โดยปกติในเครื่องเชื่อมแต่ละชนิดจะระบุ Duty Cycle ที่เครื่องเชื่อม ซึ่งหลายๆท่านที่ไม่มีความเชี่ยวชาญในการใช้เครื่องเชื่อม อาจจะยังไม่รู้จักหรือไม่เคยได้ยินคำว่า Duty Cycle ซึ่งบทความนี้จะบอกถึงความหมายของคำว่า Duty cycle คืออะไร
Duty cycle คือ ค่า Spec ของเครื่องเชื่อมเพื่อหาจำนวนนาทีของช่วง 10 นาที ช่วงที่สามารถใช้งานได้อย่างปลอดภัยหรืออาจจะเรียกว่า ความสามารถในการทำงานของเครื่องเชื่อมนั่นเอง
ยกตัวอย่างเช่น ตู้เชื่อมไฟฟ้า CO2 MAG (GMAW) KA-MIG350
ตามภาพข้างต้น เครื่องเชื่อมระบุไว้ว่า
-
Duty cycle 60% ที่ 350A คือ เครื่องเชื่อมนี้สามารถเชื่อมงานต่อเนื่องได้ 6 นาที และต้องทำการพักการใช้งานเครื่องเชื่อม 4 นาที ในกรณีที่ทำการคิดเวลาการทำงานที่ 10 นาที ที่กระแส 350A
-
Duty cycle 100% ที่ 270A คือ เครื่องเชื่อมนี้สามารถเชื่อมงานต่อเนื่องได้ 10 นาที ไม่มีการพักการใช้งานของเครื่องเชื่อม ในกรณีที่ทำการคิดเวลาการทำงานที่ 10 นาที ที่กระแส 270A Duty cycle ที่ยกตัวอย่างข้างต้น หากไม่พักการทำงานของเครื่องเชื่อมอาจจะทำให้เครื่องเชื่อมเสียหายได้
ผู้ที่สนใจในงานเชื่อมจะต้องเลือกใช้เครื่องเชื่อมให้เหมาะสมกับลักษณะของงานเพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุด โดยการใช้เครื่องเชื่อมไฟฟ้าแต่ละชนิดมีความแตกต่างกัน ไม่ว่าจะเป็นด้านคุณสมบัติของการใช้งาน หรือคุณภาพของชิ้นงานเชื่อมฯลฯ จึงเป็นสิ่งจำเป็นอย่างยิ่งที่ช่างผู้ใช้งานจะต้องทำความเข้าใจเกี่ยวกับวัสดุ ความหนาของชิ้นงาน และอุปกรณ์การเชื่อมไฟฟ้าได้เป็นอย่างดี เช่น เครื่องเชื่อมไฟฟ้ามี2ชนิดอะไรบ้าง เครื่องเชื่อมไฟฟ้าที่นิยมใช้ในท้องตลาด และการเลือกกำลังไฟของเครื่องเชื่อมขึ้นอยู่กับวัสดุที่ต้องการเชื่อม ความหนาของชิ้นงาน ทั้งนี้การเลือกเครื่องเชื่อมควรเลือกให้เหมาะกับการใช้งานเพื่อประสิทธิภาพการใช้งานสูงสุด และ ผู้ใช้งานสามารถดูคู่มือเครื่องเชื่อมได้เพื่อปรับกระแสไฟให้เข้ากับชิ้นงาน