ตะกร้า 0

เกจวัดแรงดันลม (Pressure Gauge) เครื่องมือชิ้นสำคัญในงานอุตสาหกรรม

เกจวัดแรงดันลม (Pressure Gauge) เครื่องมือชิ้นสำคัญในงานอุตสาหกรรม

3 เมษายน 2024

เกจวัดแรงดันลม (Pressure Gauge)  เครื่องมือชิ้นสำคัญในอุตสาหกรรม

เกจวัดแรงดันลม (Pressure Gauge) คืออุปกรณ์ที่ช่วยในการวัดค่าแรงดันของของไหลในระบบอุตสาหกรรม สามารถใช้วัดได้ทั้งแรงดันก๊าซและแรงดันของเหลวในระบบ โดยนิยมติดตั้งกับท่อที่ใช้เป็นช่องทางการไหลของของไหล รวมถึงเกจวัดแรงดันลมบางรุ่นยังมาพร้อมกับระบบสวิตช์ที่ใช้ทำเป็นสัญญาณเตือนภัย (Alarm) หรือนำไปติดตั้งร่วมกับกระบวนการทำงานของอุปกรณ์อื่น ๆ ในเครื่องจักรได้ด้วย

หลักการทำงานเบื้องต้นของเกจวัดแรงดันลม (Pressure Gauge) 

เกจวัดแรงดันลมที่นิยมใช้งานในปัจจุบันจะมีหลักการทำงานเบื้องต้นอยู่ 3 รูปแบบ ได้แก่

  1. เกจวัดแรงดันลมที่ชนิดท่อบูร์ดอง (bourdon gauge) : เกจวัดแรงดันลมที่อาศัยหลักการยืดหดตัวของท่อบูร์ดอง เมื่อเกิดแรงดันในระบบ ตัวท่อบูร์ดองที่ติดกับเข็มบ่งชี้ จะเกิดการยืดหรือหดตัว ทำให้เข็มขยับตามค่าเปลี่ยนแปลงของแรงดันที่เกิดขึ้น หลักการทำงานเช่นนี้เป็นหลักการทำงานของเกจวัดแรงดันลมแบบเข็ม
  2. เกจวัดแรงดันลมที่ใช้แผ่นไดอะแฟรมซีล (Diaphragm Seals): หลักการทำงานแบบผสมระหว่างการใช้ท่อบูร์ดองผสมกับแผ่นไดอะแฟรมที่มีลักษณะเป็นแผ่นบาง มีพื้นผิวคล้ายลูกคลื่น เป็นตัวนำส่งแรงดันในระบบไปยังเกจวัดแรงดันลม ซึ่งเกจวัดแรงดันลมที่ใช้หลักการนี้จะต้องมีการซีลน้ำมันกลีเซอรีน (Glycerin) เข้าไปยังอุปกรณ์ เพื่อนำอากาศในตัวอุปกรณ์ออกให้หมดด้วย
  3. เกจวัดแรงดันลมที่ใช้เซนเซอร์ดิจิทัล: การทำงานรูปแบบนี้พบได้ในเกจวัดแรงดันลมแบบดิจิทัล เพราะจะอาศัยตัวเซนเซอร์สำหรับแปลงแรงดันลมในระบบ แสดงค่าออกมาเป็นตัวเลขดิจิทัลปรากฏบนหน้าจอ

โครงสร้างสำคัญในเกจวัดแรงดันลมแบบเข็ม (Analog Pressure Gauge) 

เกจวัดแรงดันลมแบบเข็ม คือ เกจวัดแรงดันประเภทที่ได้รับความนิยมและใช้กันอย่างกว้างขวาง ไม่เพียงแต่ติดตั้งใช้งานในภาคอุตสาหกรรมเท่านั้น แต่ในอาคารบ้านเรือน โรงเรียน หรือแม้กระทั่งโรงพยาบาลก็ติดตั้งใช้งานเช่นกัน โดยเกจวัดแรงดันลมแบบเข็มจะมีโครงสร้างหลักอยู่ 2 ส่วน ได้แก่

  1. ส่วนหน้าปัดแสดงผล: ส่วนที่ใช้แสดงผลค่าความดันที่เกิดขึ้นในระบบให้ทราบ โดยมีลักษณะเป็นเข็มเคลื่อนตัวด้วยการหมุน ชี้ไปตามเส้นแบ่งที่บ่งบอกระดับแรงดันบนแผงหน้าปัดเกจวัดแรงดันลม ให้ความรู้สึกเหมือนการดูนาฬิกาบอกเวลา
  2. ส่วนอุปกรณ์ความดัน: โครงสร้างสำคัญที่มีหน้าที่เปลี่ยนความดันที่มากระทำกับตัวเกจวัดแรงดันลมให้เกิดแรงเชิงกล ต่อเข้ากับกลไกของเข็มชี้หมุนแสดงค่าแรงดัน โดยอุปกรณ์ความดันที่นิยมใช้กันอย่างแพร่หลายมีอยู่ 3 ชนิด ได้แก่ ท่อบูร์ดอง แผนไดอะแฟรมซีล และเบลโลว์

เกจวัดแรงดันลมแบบเข็มต่างกับเกจวัดแรงดันลมแบบดิจิทัลอย่างไร? 

เกจวัดแรงดันลมแบบดิจิทัล คือ เกจวัดแรงดันลมแบบใหม่ที่มาพร้อมกับความแม่นยำสูง แสดงค่าบนหน้าจอดิจิทัลให้เห็นเป็นหน่วยละเอียด เหมาะกับงานที่ต้องการวัดความดันแม่นยำสูง ๆ อีกทั้งเกจวัดแรงดันลมดิจิทัลรุ่นใหม่ ๆ ยังสามารถเชื่อมต่อข้อมูลไปยังระบบคอมพิวเตอร์ ช่วยให้สามารถอ่านค่าแรงดันจากระยะไกลได้อีกด้วย ในขณะที่เกจวัดแรงดันลมแบบเข็มเป็นการแสดงผลด้วยเข็มหมุนบนหน้าปัด ความแม่นยำจะต่ำกว่าแบบดิจิทัลเล็กน้อย แต่มีราคาที่ถูกกว่ามาก มีความทนทานสูงกว่าเกจวัดแรงดันดิจิทัล ที่สำคัญ บางรุ่นยังสามารถเติมน้ำมันเพื่อทำให้อ่านค่าได้แม้มีการใช้งานในพื้นที่ที่มีแรงสั่นสะเทือนสูง

เกจวัดแรงดันลม ใช้สำหรับวัดลมได้เพียงอย่างเดียวหรือไม่?

ถึงแม้จะชื่อว่า เกจวัดแรงดันลม แต่ก็สามารถใช้อ่านค่าของ ของไหล ทั้งประเภทที่เป็นลมและก๊าซได้ สามารถใช้วัดค่าความดันได้ทั้งในสภาพอากาศร้อน และสภาพอากาศเย็น อีกทั้งเกจวัดแรงดันลมบางรุ่นยังสามารถวัดค่าความดันของไหลจำพวกของเหลว อย่างน้ำ น้ำมัน และสารกัดกร่อนบางชนิดได้อีกด้วย

เกจวัดแรงดันลม คุณภาพสูงวัดได้แม่นยำ ต้อง KOVET

KOVET เรา คือ บริษัทผู้ผลิตนำเข้า ส่งออก และจำหน่ายสินค้าอุตสาหกรรมแบบครบวงจร โดยเปิดให้บริการจำหน่ายเกจวัดแรงดันลมประสิทธิภาพความแม่นยำสูง ภายใต้แบรนด์ KOVET ,แบรนด์ Alibaba และแบรนด์ Magic Lamp ซึ่งจัดเป็น 3     แบรนด์ ที่นิยมสูงในอุตสาหกรรมไทยและต่างประเทศ มาพร้อมความแม่นยำสูงได้มาตรฐานสากล สามารถใช้วัดได้ทั้งสภาพอุณหภูมิร้อน และอุณหภูมิเย็น หน้าปัดอ่านค่าความดันเป็นตัวเลขได้ง่าย ชัดเจนทั้ง Bar/Psi และ KPa/Psi สนใจสินค้าตัวไหนสอบถามทีมงานของเราได้เลย

ทีมงานที่เชี่ยวชาญของเรายินดีให้คำปรึกษา

หากสนใจสินค้าลวดเชื่อมต่างๆ สามารถติดต่อเราได้ที่

@kovet

[email protected]