ตะกร้า 0

สายเชื่อม คืออะไร?

สายเชื่อม คืออะไร?

14 พฤษภาคม 2024

สายเชื่อม คืออุปกรณ์ชิ้นสำคัญในงานเชื่อมโลหะ เพื่อเชื่อมโลหะและชิ้นงานต่าง ๆ เข้าด้วยกัน โดยสายเชื่อมจะมีหน้าที่ในการนำกระแสไฟฟ้าจากเครื่องเชื่อมไปยังบริเวณที่ต้องการเชื่อม หรือหากให้อธิบายง่าย ๆ ก็คือ สายเชื่อมมีหน้าที่เป็นสื่อกลางในการนำไฟฟ้าจากแหล่งกำเนิดไปยังจุดที่ต้องการพลังงานนั่นเอง จุดเด่นของสายเชื่อมโลหะจึงมักต้องมาพร้อมคุณสมบัติในการทนทานต่ออุณหภูมิสูงอย่างต่อเนื่อง อย่างน้อยต้องทนได้ประมาณ 65 ถึง 75 องศาเซลเซียส มีฉนวนห่อหุ้ม มีความยืดหยุ่นสูง ทนทานต่อการกดทับ ลาก หรือรอยขีดข่วน และสามารถทนต่อสารทำละลายหรือสารเคมีได้ด้วย

pvc-rubber-welding-cable

สายเชื่อมมีกี่ชนิด แต่ละชนิดต่างกันอย่างไร?

  1. สายเชื่อมยาง

สายเชื่อมหุ้มด้วยฉนวนที่ผลิตขึ้นจากยางสังเคราะห์คุณภาพสูง ทำให้มีคุณสมบัติที่ทนทานต่อความร้อนได้สูง 65 ถึง 75 องศาเซลเซียส มีความเหนียวและยืดหยุ่นสูง ทนต่อการเสียดสีหรือลากไปมาในพื้นที่ปฏิบัติงานได้ดีเยี่ยม ทั้งยังทนต่อน้ำมัน ตัวทำละลาย และสารเคมีได้ โดยสายเชื่อมที่หุ้มด้วยฉนวนยางส่วนใหญ่จะสังเกตได้ง่าย เพราะมีลักษณะเป็นสายเชื่อมยางสีดำ

  1. สายเชื่อม PVC

สายเชื่อม (สีส้ม) ที่หุ้มด้วยฉนวนที่ผลิตขึ้นจากเนื้อ PVC หรือมีส่วนประกอบหลักเป็น คลอริเนตโพลิเอทิลลีน หรือ CPE เพื่อเพิ่มคุณสมบัติให้ทนทานต่อกระแสไฟฟ้าสูงได้ดีเยี่ยม ส่งผลให้สายเชื่อม PVC สามารถทนอุณหภูมิความร้อนได้ดีกว่าสายเชื่อมยาง อยู่ที่ประมาณ 70 ถึง 90 องศาเซลเซียส ทั้งยังมีลักษณะผิวสัมผัสที่ค่อนข้างมัน และแข็งกว่าสายเชื่อมยางพอสมควร มีความทนทานสูง สามารถทนต่อการไหม้ของของฉนวนได้ดี

How to เลือกสายเชื่อมให้เหมาะกับการใช้งาน

  • เลือกขนาดของสายเชื่อมให้เข้ากับขนาดของเครื่องเชื่อม

คุณไม่สามารถเลือกขนาดสายเชื่อมตามความชอบส่วนตัวได้ เนื่องจากขนาดของสายเชื่อมจะส่งผลต่อพลังงานที่สายเชื่อมนั้น ๆ รองรับได้ ยิ่งสายเชื่อมมีความยาวและบางมากเท่าใด หมายความว่าความต่างศักย์ของสายเชื่อมจะยิ่งลดลง ดังนั้นหากต้องการสายเชื่อมที่มีความยาว แนะนำให้เลือกที่มีระดับความหนาสูง ๆ ด้วย

  • เลือกขนาดแอมป์ของสายเชื่อมให้สัมพันธ์กับเครื่องเชื่อม

ก่อนเลือกสายเชื่อม ต้องพิจารณาจากสเปคของเครื่องเชื่อมไฟฟ้าเช่นกัน โดยเฉพาะค่าแอมป์ที่เครื่องเชื่อมรองรับ เนื่องจากค่าแอมป์เป็นหน่วยวัดปริมาณกระแสไฟฟ้าสูงสุดที่ตัวนำไฟฟ้าสามารถรองรับได้ต่อเนื่องโดยมีความปลอดภัย หลักการเลือกสายเชื่อม คือให้ตรวจสอบว่าเครื่องเชื่อมปล่อยกระแสไฟเชื่อมสูงสุดได้เท่าไร จึงค่อยเลือกสายเชื่อมที่มีขนาดแอมป์สัมพันธ์กับเครื่องเชื่อมก็เพียงพอแล้ว

  • เลือกความยาวของสายเชื่อมให้เหมาะกับการใช้งาน

ความยาวของสายเชื่อมต้องสอดคล้องกับขนาดพื้นที่ที่ใช้งาน สายเชื่อมที่ยาวจนเกินพอดีจะทำให้เกะกะหรืองานเชื่อมเป็นไปได้ยากลำบาก รวมถึงสายเชื่อมที่สั้นไปจะส่งผลให้งานเชื่อมล่าช้า เพราะคุณต้องย้ายเครื่องเชื่อม และเครื่องมือต่าง ๆ อยู่บ่อย ๆ ดังนั้นเน้นเลือกความยาวที่พอดีให้ใช้งานได้ทั่วถึงก็พอ

  • เลือกความอ่อนตัวของสายเชื่อมให้เหมาะสม

เทคนิคการตรวจสอบความอ่อนตัวหรือการงอตัวของสายเชื่อมง่าย ๆ คือ ให้ดูจากขนาดความโตของสายเชื่อม ยิ่งมีขนาดเล็ก หมายความว่าสายเชื่อมจะยิ่งมีความอ่อนตัวหรือการงอตัวมากเท่านั้น และยิ่งสายเชื่อมมีความอ่อนตัวหรือการงอตัวมากก็จะยิ่งส่งผลดีต่อการใช้งาน ทำให้สามารถลากใช้งานสะดวก

  • เลือกฉนวนให้เหมาะกับการใช้งาน

การเลือกฉนวนที่ห่อหุ้มสายเชื่อมถือเป็นสิ่งสำคัญอย่างมาก เนื่องจากฉนวนแต่ละประเภทจะมีความเหมาะสมต่อการใช้งานที่แตกต่างกัน สายเชื่อมฉนวนยางธรรมชาติ (Rubber) เหมาะสำหรับงานเชื่อมในอุตสาหกรรมยานยนต์ ระบบสายพานลำเลียง หรืองานที่ต้องการความยืดหยุ่นสูง ในขณะที่สายเชื่อมฉนวน PVC เหมาะกับงานเชื่อมที่มีระดับอุณหภูมิสูง ๆ ทนต่อสารเคมี และต้องการความปลอดภัยขั้นสูง เช่น งานก่อสร้าง งานเหมืองแร่ สถานีพลังงาน และโรงงานอุตสาหกรรมเคมี เป็นต้น

สายเชื่อมสำหรับงานช่าง คุณภาพสูง มีให้เลือกครบจบที่ KOVET

หากคุณกำลังมองหาสายเชื่อมคุณภาพสูง และการบริการที่ตอบโจทย์อย่างมืออาชีพ KOVET คือตัวเลือกที่ใช่สำหรับคุณ เพราะที่นี่เรามีสายเชื่อมที่หุ้มด้วยทั้งฉนวนยาง และฉนวน PVC คุณภาพสูง จากแบรนด์ KOVET แบรนด์ GOODWILL และแบรนด์ Alibaba รวมถึงเครื่องเชื่อมและลวดเชื่อมให้เลือกครบทุกประเภท รับประกันสินค้าคุณภาพมาตรฐานและความปลอดภัยในระดับสากล เรายินดีให้บริการ และจัดจำหน่ายในราคาถูก มาที่นี่ซื้อได้ครบพร้อมลุยงานเชื่อมได้ทันที ท่านใดมีข้อสงสัยเพิ่มเติม สามารถติดต่อเราได้โดยตรง KOVET พร้อมสร้างความมั่นใจและรอยยิ้มของลูกค้าทุกท่าน

“KOVET ครบเครื่องเรื่องเชื่อม-ตัด”

ทีมงานที่เชี่ยวชาญของเรายินดีให้คำปรึกษา

หากสนใจสินค้าลวดเชื่อมต่างๆ สามารถติดต่อเราได้ที่

@kovet

[email protected]