ตู้เชื่อม คืออะไร
ตู้เชื่อม คือเครื่องมือทุ่นแรงที่ใช้ในงานช่างประเภทงานเชื่อมต่าง ๆ โดยจะใช้ไฟฟ้าช่วยในการกำเนิดกระแสไฟในการเชื่อมหรือต่อผสานระหว่างโลหะเข้าด้วยกัน ช่วยทำให้ประหยัดเวลา และให้การเชื่อมต่อโลหะเป็นไปอย่างง่ายดายยิ่งขึ้น ซึ่งในปัจจุบัน ตู้เชื่อมมีการนำไปใช้งานหลากหลายรูปแบบ ตั้งแต่งานระดับอู่ซ่อมรถ สถานที่ก่อสร้าง ไปจนถึงระดับภาคอุตสาหกรรมการผลิตต่าง ๆ ทำให้ตู้เชื่อมมีการพัฒนา และจัดแบ่งออกเป็นประเภทต่าง ๆ ตามความเหมาะสมในการใช้งาน ดังนี้
ประเภทของ ตู้เชื่อม ข้อดีและข้อเสียในแต่ละประเภท
- ตู้เชื่อมอาร์กอน (ตู้เชื่อม TIG)
ตู้เชื่อมอาร์กอน หรือที่หลายคนรู้จักในชื่อตู้เชื่อม TIG ที่ใช้ก๊าซอาร์กอนช่วยในกระบวนการเชื่อม ซึ่งตู้เชื่อมบางรุ่นสามารถใช้เชื่อมได้ทั้งในรูปแบบใช้กับก๊าซอาร์กอนและการเชื่อมไฟฟ้า ทำให้สามารถเชื่อมได้กับวัสดุที่หลากหลาย ทั้งสเตนเลส อะลูมิเนียม ทองแดง และทองเหลืองได้มีประสิทธิภาพ
ข้อดี ของตู้เชื่อมประเภทนี้ คือ เหมาะสำหรับใช้ในงานที่ต้องการความละเอียด และสวยงาม การเชื่อมประเภทนี้ไม่ก่อให้เกิดประกายไฟ ควันน้อย
ข้อเสีย ของตู้เชื่อมอาร์กอนนั้น ความเร็วในการเชื่อมนั้นค่อนข้างช้า เมื่อเทียบกับงานเชื่อมประเภทอื่นๆ อีกทั้งยังมีราคาที่แพงกว่าเมื่อเทียบกับตู้เชื่อมไฟฟ้า
- ตู้เชื่อม MMA (ตู้เชื่อม ARC)
ตู้เชื่อม MMA , ตู้เชื่อม ARC หรือตู้เชื่อมไฟฟ้าอินเวอร์เตอร์ จัดอยู่ในกลุ่มประเภทเดียวกัน โดยหมายถึงตู้เชื่อมที่ใช้ความร้อนอันเกิดจาก ARC ระหว่างลวดเชื่อมหุ้มฟลักซ์กับชิ้นงาน ซึ่งตู้เชื่อม MMA มีระบบ Transformer (ระบบหม้อแปลง) และ Inverter (ระบบอินเวอร์เตอร์)
ข้อดีของตู้เชื่อมประเภทนี้ คือ มีความคล่องตัวในการเคลื่อนย้าย มีอุปกรณ์น้อยชิ้น แถมยังมีราคาประหยัด จึงเหมาะสำหรับพกพาใช้งานนอกสถานที่ เหมาะกับช่างมือใหม่
แต่ข้อเสียที่ต้องระวัง คือ ความร้อนและสะเก็ดไฟขณะใช้งาน รวมถึงมีควันมาก ทำให้ไม่เหมาะกับชิ้นงานที่ต้องการคุณภาพสูง และชิ้นงานบาง ๆ
- ตู้เชื่อม CO2 (ตู้เชื่อม MIG/MAG)
ตู้เชื่อม CO2 หรือที่หลายคนรู้จักกันในชื่อ ตู้เชื่อม MIG หรือ MAG ซึ่งเป็นตู้เชื่อมที่ใช้หลักการทำงานด้วยการป้อนลวดเชื่อมลงบนชิ้นงานได้อัตโนมัติ รวมถึงต้องใช้ก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ในการปกคลุมแนวเชื่อม (ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับลักษณะของชิ้นงาน)
จุดเด่นของตู้เชื่อมชนิดนี้ คือที่ความเร็วในการเชื่อม และสามารถเดินแนวเชื่อมได้ต่อเนื่อง เหมาะสำหรับงานที่ต้องการคุณภาพสูง เช่น ในภาคอุตสาหกรรม
สำหรับข้อเสียคงต้องบอกว่าการตั้งค่ามีความซับซ้อนพอสมควร ทำให้ใช้งานยากสักเล็กน้อย รวมถึงจำเป็นต้องพึ่งแหล่งจ่ายไฟและก๊าซ ส่งผลให้ไม่เหมาะกับงานที่ต้องเคลื่อนย้ายบ่อย ๆ
- เครื่องตัดพลาสมา
เป็นเครื่องที่นิยมใช้ในการตัดโลหะ โดยจำเป็นต้องใช้งานร่วมกับปั๊มลม เพื่อช่วยในการส่งถ่ายพลังงานด้วยเร็วสูงไปที่หัวปืนตัด เปลี่ยนลมให้กลายเป็นพลาสม่า สำหรับตัดชิ้นงาน
ข้อดีของเครื่องตัดพลาสม่า มีความสามารถในการตัดโลหะได้หลากหลายประเภท เช่น อะลูมิเนียม คาร์บอน สเตนเลส ทองแดง ทองเหลือง รวมถึงมีความสวยงามของแนวตัด ชิ้นงานสูญเสียน้อย จึงเหมาะสำหรับตัดชิ้นงานบาง
แต่ข้อเสียของเครื่องตัดพลาสม่า อาจต้องใช้ฝีมือของช่างที่มีความชำนาญพอสมควร ถึงทำให้คุณภาพในการตัดชิ้นงานออกมาดี และอาจต้องเปลี่ยนอะไหล่บ่อยเมื่อผู้ใช้ยังไม่ชำนาญ
วิธีบำรุงรักษาตู้เชื่อมอย่างถูกวิธี
- ทำความสะอาดตู้เชื่อมสม่ำเสมอ โดยเฉพาะในส่วนของสายเชื่อม สายดิน ข้อต่อสายเชื่อม และจุดเชื่อมต่อสายต่าง ๆ โดยให้ใช้ปั๊มลมเป่าทำความสะอาด เพื่อขจัดเศษฝุ่นละอองที่เข้าไปอุดตันส่วนต่าง ๆ
- ตรวจสอบคุณภาพทั้งก่อนและหลังใช้งาน เพื่อป้องกันไม่ให้เกิดอันตรายขณะใช้งาน หากพบว่ามีชิ้นส่วนตู้เชื่อมชำรุดให้ส่งซ่อมกับช่างผู้เชี่ยวชาญทันที ห้ามซ่อมเองเด็ดขาด
- หยุดพักตู้เชื่อมเมื่อใช้งานเป็นเวลานาน โดยเฉพาะตู้เชื่อม ARC ตู้เชื่อม TIG และตู้เชื่อม MIG เพราะอากาศบ้านเราค่อนข้างร้อน ตู้เชื่อมเหล่านี้ขณะทำงานก็มีความร้อนเช่นกัน หากไม่พักบ้างจะยิ่งทำให้เครื่องร้อน จนอาจทำให้ชำรุดเสียหายได้ง่าย
ถ้าเลือกซื้อตู้เชื่อม ต้องซื้อกับ KOVET
หากคุณกำลังมองหาตู้เชื่อม และการบริการที่ตอบโจทย์อย่างมืออาชีพ KOVET คือตัวเลือกที่ใช่สำหรับคุณ เพราะที่นี่เรามีตู้เชื่อมคุณภาพสูงให้เลือกครบทุกประเภท รับประกันสินค้าคุณภาพมาตรฐานและความปลอดภัย มีการรับประกัน อีกทั้งทีมงานมากประสบการณ์ของเรายังพร้อมให้ความช่วยเหลือทางด้านข้อมูลเกี่ยวกับสินค้า การซ่อมบำรุง คำแนะนำในการเลือกซื้อและดูแลรักษาตู้เชื่อมอีกด้วย หากท่านใดมีข้อสงสัยเพิ่มเติม สามารถติดต่อเราได้โดยตรง KOVET พร้อมสร้างความมั่นใจและรอยยิ้มของลูกค้าทุกท่าน