ตะกร้า 0

รอบรู้เรื่อง ‘ลวดเชื่อมสแตนเลส’ เพื่อให้งานเชื่อมมีคุณภาพสูงสุด

รอบรู้เรื่อง ‘ลวดเชื่อมสแตนเลส’ เพื่อให้งานเชื่อมมีคุณภาพสูงสุด

13 พฤษภาคม 2024

ลวดเชื่อมสแตนเลส หรือที่ใครหลายคนอาจรู้จักในชื่อ โลหะเติมสแตนเลส คือวัสดุที่ใช้ในงานเชื่อมเหล็กกล้าไร้สนิมเป็นหลัก ใช้งานร่วมกับเครื่องเชื่อมไฟฟ้าซึ่งเป็นวัสดุที่ใช้ในงานเชื่อมอุตสาหกรรม งานช่าง และอุตสาหกรรมภาคครัวเรือน โดยลวดเชื่อม สแตนเลสมีการจัดแบ่งเกรดตามสัดส่วนของส่วนผสมและตามคุณสมบัติการใช้งาน เกรดที่ได้รับความนิยมสูงที่สุด ได้แก่ ลวดเชื่อมสแตนเลสเกรด 304 เกรด 308 เกรด 310 และเกรด 316 อีกทั้งนอกจากลวดเชื่อมสแตนเลสจะมีการแบ่งเกรดแล้ว ยังมีการแบ่งประเภทตามความสามารถในงานเชื่อมอีกด้วย

ประเภทของลวดเชื่อมสแตนเลสยอดนิยม และความสามารถที่แตกต่างในงานเชื่อม

  1. ลวดเชื่อมสแตนเลสเฟอร์ริติค: ลวดเชื่อมสแตนเลสที่มีการเติมโครเมียม 5 ถึง 30 เปอร์เซ็นต์ และคาร์บอน 0.20 เปอร์เซ็นต์ ในสัดส่วนผสม หลักการเชื่อมสแตนเลสเฟอร์ริติคจะต้องใช้ลวดเชื่อมสแตนเลสที่มีค่าโครเมียมเท่ากับหรือมากกว่าระดับฐานของโลหะ นิยมใช้สำหรับเชื่อมต่อชิ้นงาน และเชื่อมเติมเนื้อชิ้นงานที่ต้องการความแข็งเพิ่มขึ้นกว่าเดิม มีคุณสมบัติแม่เหล็กดูดติด
  2. ลวดเชื่อมสแตนเลสออสเทนนิติค: ลวดเชื่อมสแตนเลสที่ผสมโครเมียม 16 ถึง 26 เปอร์เซ็นต์ แมงกานีสบวกนิกเกิล 10 ถึง 24 เปอร์เซ็นต์ และคาร์บอน 40 เปอร์เซ็นต์ อาจมีธาตุอื่นเสริมมาอีก 2 ถึง 3 อย่างในสัดส่วนเพียงเล็กน้อย ลักษณะใช้สำหรับงานเชื่อมสเตนเลสทั่วไป สามารถเชื่อมเหล็กที่มีส่วนผสมของธาตุโครเมียม-นิเกิล แนวเชื่อมทนต่อการกัดกร่อนได้ดี ในสภาวะอากาศปกติ และทนต่อการกัดกร่อนของกรดอ่อนๆได้
  3. ลวดเชื่อมสแตนเลสทำให้แข็งโดยการตกผลึก: กลุ่มลวดเชื่อมสแตนเลสที่มีความแข็งแรงมากกว่า 2 ประเภทด้านบน เป็นกลุ่มที่เหมาะสำหรับงานเชื่อมที่ต้องการคุณสมบัติป้องกันการกัดกร่อนสูง นิยมใช้เชื่อมยานอวกาศ อากาศยาน และงานทางด้านวิศวกรรมทั่วไป
  4. ลวดเชื่อมสแตนเลสดูเพล็กซ์: กลุ่มของลวดเชื่อมสแตนเลสที่มีข้อดีมากกว่า เฟอร์ริติค และออสเทนนิติค มาพร้อมคุณสมบัติในด้านความแข็งแรง ต้านทานการกัดกร่อนและการแตกร้าวได้ดี รองรับความเค้นได้สูง

คุณสมบัติสำคัญที่ทำให้ลวดเชื่อมสแตนเลสเหมาะสำหรับงานเชื่อม

  • สมบัติทางกายภาพ

คุณสมบัติที่โดดเด่นที่สุดของลวดเชื่อมสแตนเลสทางกายภาพ คือคุณสมบัติเกี่ยวกับความร้อน โดยมีจุดหลอมเหลวสูง สามารถนำความร้อนได้ในระดับปานกลาง ทำให้ลวดเชื่อมสแตนเลสสามารถใช้เชื่อมวัสดุบนพื้นผิวชิ้นงานที่มีอุณหภูมิสูงได้ อีกทั้งยังมีค่าสัมประสิทธิ์การขยายตัวในระดับปานกลาง ทำให้ขยายตัวได้ยาวมาก ๆ โดยใช้ลวดเชื่อมสแตนเลสเพียงเล็กน้อย เหมาะสำหรับใช้ในงานเชื่อมที่มีขนาดใหญ่ เช่น เชื่อมโครงสร้าง เป็นต้น

  • สมบัติทางกล

ลวดเชื่อมสแตนเลสจะมีส่วนผสมของเหล็กประมาณ 70 ถึง 80 เปอร์เซ็นต์ ขึ้นอยู่กับประเภทและเกรดของลวดเชื่อมสแตนเลส ส่งผลให้สมบัติทางกลของลวดเชื่อมสแตนเลสจัดว่าอยู่ในกลุ่มสมดุล ทั้งด้านความแข็ง ความแกร่ง และความเหนียว สามารถใช้เชื่อมชิ้นงานที่ต้องการความยืดหยุ่น อ่อนตัวง่าย สามารถเชื่อมขึ้นรูปชิ้นงานได้ดี แต่ยังคงไว้ซึ่งความแข็งแรงทนทานในระดับสูงได้ด้วย

การเลือกกระบวนการเชื่อมให้สอดคล้องกับชนิดลวดเชื่อมสแตนเลส

  1. การเชื่อมอาร์คโลหะที่ได้รับปกป้อง (SMAW)

อิเล็กโทรดหุ้มด้วยฟลักซ์​ ลวดเชื่อมสแตนเลสประเภทนี้จะเหมาะสำหรับการเชื่อมในวัสดุที่มีความหนา 1.2มม. ไปจนถึงหลายมมิลลิเมตร ซึ่งการเชื่อมประเภทนี้จะก่อให้เกิด slag บนแนวเชื่อม ซึ่งต้องกำจัด slag ออกทุกครั้ง ก่อนลงมือเชื่อมทับต่อรอบใหม่  มิเช่นนั้น อาจก่อให้เกิดรูพรุน และ slag ฝังในได้ ข้อดีของการเชื่อมแบบนี้ คือมีค่าใช้จ่ายต่ำ

  1. การเชื่อมใต้ฟลักซ์ หรือการเชื่อมซับเมิร์จ (SAW)

กระบวนการเชื่อมที่ใช้สำหรับเชื่อมชิ้นงานที่มีความหนามากกว่า 12.7mm. สแตนเลสที่เชื่อมใต้ฟลักซ์ส่วนใหญ่ เป็นสแตนเลสชนิดออสเทนนิติค ซึ่งการเชื่อมใต้ฟลักซ์ด้วยลวดเชื่อมสแตนเลส จะทำให้รอยเชื่อมไม่มีเฟอร์ไรท์ แถมยังหลีกเลี่ยงปัญหาด้านการแตกร้าวได้ดีที่สุด โดยทั่วไปนิยมใช้เครื่องเชื่อมไฟฟ้ากระแสตรงและอิเล็กโทรด โดยสายเชื่อมฝั่งลวดเชื่อมสแตนเลสจะอยู่ที่ขั้วบวก แต่ในบางกรณีอาจใช้กระแสไฟสลับได้ในบางครั้งในกรณีที่ต้องการหลอมละลาย และการซึมลึกปานกลาง และต้องการความเสถียรของอาร์ค

  1. การเชื่อมอาร์คใช้แก๊สคลุม (GMAW)

การเชื่อมวิธีนี้จะอาศัยความร้อนจากอาร์คระหว่างลวดเชื่อมสแตนเลสกับชิ้นงาน โดยการเชื่อมแบบ MIG และแบบ MAG ลวดเชื่อมจะถูกป้อนเข้ามาอย่างต่อเนื่อง ซึ่งลวดเชื่อมสแตนเลสจะหลอมละลายเติมลงในแนวเชื่อมบนชิ้นงาน ทำให้ชิ้นงานทั้งสองชิ้นเชื่อมต่อกัน ซึ่งบริเวณจุดที่เกิดการอาร์คจะได้รับการปกคลุมจากแก๊สที่จ่ายมาจากแหล่งกำเนิดภายนอก ซึ่งแบ่งออกตามชนิดของแก๊สที่คลุมได้ 2 ชนิด คือ การเชื่อม MIG ใช้แก๊สเฉื่อย และการเชื่อม MAG ใช้แก๊สคาร์บอนไดออกไซด์

  1. การเชื่อมลวดไส้ฟลักซ์ หรือลวดฟลักซ์คอร์ไวร์ (FCAW)

เทคนิคการเชื่อมสแตนเลสที่ใช้ความร้อนจากอาร์คระหว่างลวดเชื่อมสแตนเลสที่มีฟลักซ์บรรจุภายในแกนกลางลวด จะถูกป้อนเข้ามาต่อเนื่อง โดยบริเวณจุดที่เกิดการอาร์คจะมีแก๊สและ slag ปกคลุมแนวเชื่อมที่เกิดจากการหลอมของฟลักซ์ในเส้นลวดเชื่อม หากต้องการแนวเชื่อมที่สวยงามมีคุณภาพ จำต้องใช้แก๊สปกคลุมเข้ามาช่วยด้วย เช่น แก๊สคาร์บอนไดออกไซด์

  1. การเชื่อมอาร์คทังสเตนแก๊สปกคลุม หรือการเชื่อมทิก (GTAW)

กระบวนการเชื่อมแบบอาร์คที่ใช้ทังสเตนเป็นแท่งอิเล็กโทรดในการเชื่อม โดยจุดบ่อหลอมจะมีแก๊สปกคลุม เพื่อป้องกันการปนเปื้อนหรือการทำปฏิกิริยากับอากาศรอบข้าง เหมาะสำหรับงานเชื่อมที่ต้องการคุณภาพ ความสวยงาม และความแข็งแรงของแนวเชื่อมสูง ๆ

ครบเครื่องเรื่องลวดเชื่อมสแตนเลส งานเชื่อมเนี้ยบรอยเชื่อมสวย ไว้ใจ KOVET

KOVET เราคือผู้นำด้านการจำหน่ายชิ้นส่วนและอุปกรณ์อุตสาหกรรมชั้นนำในประเทศ มีลวดเชื่อมสแตนเลสให้เลือกมากมาย หลายรุ่นหลายเกรด ตอบโจทย์ทุกกระบวนการเชื่อม ราคาไม่แพง สินค้าการันตีคุณภาพมาตรฐาน คัดสรรจากแบรนด์ชั้นนำระดับโลก ได้แก่ แบรนด์ KOVET และแบรนด์ Alibaba  พร้อมบริการระดับมืออาชีพที่มอบความสะดวกสบายให้กับลูกค้ามากกว่าที่เคย ทั้งการรับประกันสินค้า การให้คำแนะนำโดยทีมวิศวกรและช่างเทคนิคมืออาชีพ ติดต่อประสานงานง่ายทั้งก่อนและหลังการขาย ท่านใดที่มีความสนใจ รับชมสินค้าเพิ่มเติมได้ทางหน้าเว็บไซต์ของ KOVET ได้เลย

ทีมงานที่เชี่ยวชาญของเรายินดีให้คำปรึกษา

หากสนใจสินค้าลวดเชื่อมต่างๆ สามารถติดต่อเราได้ที่

@kovet

[email protected]