สายเชื่อม คือสายที่ใช้ในการเชื่อมอาร์คไฟฟ้าเพื่อจ่ายไฟให้ลวดเชื่อม มีลักษณะเป็นแท่ง ถูกออกแบบมาเพื่อเก็บประจุไฟฟ้าที่จำเป็นต่อการผลิตอาร์คไฟฟ้า ซึ่งเป็นแหล่งผลิตความร้อนให้อิเล็กโทรดกับโลหะที่กำลังเชื่อม
สายเชื่อมจำเป็นต้องทำให้มีความความทนทานและยืดหยุ่นสูง เพราะการเชื่อมอาร์คมีการเคลื่อนย้ายบริเวณการเชื่อมอยู่เสมอ ดังนั้นจึงจำเป็นที่จะต้องมีสายเชื่อมที่ยืดหยุ่น เพื่อให้เคลื่อนย้ายได้สะดวกขึ้น ซึ่งความยืดหยุ่นจะกำหนดด้วยจำนวนเกลียวและฉนวนยาง เพราะยิ่งมีจำนวนมากเท่าไหร่สายเชื่อมก็จะมีความยืดหยุ่นสูงเท่านั้น
สายเชื่อมที่ทนนั้นมีความสำคัญอย่างมากต่ออุตสาหกรรม เพราะนอกจากจะใช้สำหรับเชื่อมแล้ว ระหว่างการใช้งานอาจจะมีการเสียดสี การเผาไหม้ หรือกรณีอื่นๆ ที่ทำให้สายเชื่อมเสื่อมสภาพลงได้
ปัจจัยและวิธีการเลือกสายเชื่อม
ปัจจัยที่มีผลต่อการเลือกสายเชื่อม มีดังนี้
-
ขนาดสายเชื่อม
-
แอมแปร์: ขนาดแอมป์ (Ampacities) หมายถึง ปริมาณกระแสไฟสูงสุดที่สายเคเบิลสามารถรับได้อย่างปลอดภัย
-
ความยาว: ความยาวของสายเชื่อมควรคำนึงถึงขนาดพื้นที่การทำงาน เพราะต้องมั่นใจว่าสามารถเข้าถึงได้ทุกมุมห้อง
-
เกจ์: ยิ่งสายเชื่อมยาวและบางลงเท่าใด ความต่างศักย์ก็จะยิ่งต่ำลง ดังนั้น หากต้องการสายยาว อาจต้องดูขนาดที่หนาขึ้นเพื่อทดแทนความยาว และเพื่อเป็นการป้องกันความเสียหายที่จะเกิด
-
ฉนวน: ส่วนใหญ่แล้้ว ฉนวนสายเชื่อมมักทำจาก EPDM หรือ PVC ซึ่งมีความยืดหยุ่น ทนต่อสภาพอากาศที่รุนแรง การเสียดสี ความชื้นและน้ำอย่างดี แต่จะไม่เหมาะสำหรับการสัมผัสกับก๊าซหรือของเหลวจากปิโตรเลียมอื่นๆ ส่วนพีวีซีนั้นมีความยืดหยุ่นน้อยกว่า แต่มีความทนทานต่อการตัดและการฉีกขาดสูง
-
ความยืดหยุ่น: ยิ่งจำนวนเกลียวมากเท่าใดสายเคเบิลก็จะยิ่งยืดหยุ่นมากขึ้นเท่านั้น
-
สี: ใช้สีเพื่อแยกความต่างของสายเชื่อม
นอกจากปัจจัยแล้ว วิธีการเลือกสายเชื่อมให้เหมาะกับการใช้งานและอุปกรณ์ที่ใช้ยังมีความสำคัญอย่างมากอีกด้วย โดยตารางข้างล่างนี้เป็นการแสดงถึงความสัมพันธ์ในการเลือกสายเชื่อมอย่างง่าย ที่นักเชื่อมมือใหม่สามารถใช้ได้